วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

Assignment 1 : ป่าชายเลน (Mangrove forest)

ป่าชายเลน

 

              ป่าชายเลนเป็นแหล่งรวมพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์ปีกและสัตว์น้ำ นับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์มาก โดยเฉพาะกุ้ง หอย ปู ปลาที่มีมากมายหลายชนิดที่ชาวบ้านสามารถนำมารับประทานและขายเป็นรายได้ตลอดทั้งปี  ดังนั้นป่าชายเลนจึงเปรียบเสมือนตลาดสดสำหรับชุมชน เพราะฉะนั้นชุมชนชายฝั่งจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนเป็นหลัก
              นอกจากนั้นป่าชายเลนยังคอยเกื้อหนุนต่อทรัพยากรทางทะเล เช่น เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนชนิดต่างๆ เป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ ช่วยป้องกันการพังทลายชายฝั่งจากคลื่นลม และทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง ที่เกื้อกูลต่อพันธุ์สัตว์และพรรณพืช รวมถึงลดมลภาวะทางอากาศและสิ่งปฏิกูลต่างๆ เป็นต้น มีป่าชายเลนหลายแห่งที่ถูกทำลายและส่งผลต่อจำนวนของสัตว์น้ำที่ลดลง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการทำมาหากินเป็นอย่างมาก ดังนั้นป่าชายเลนจึงถือว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อชุมชนและประเทศชาติ

ปริมาณพื้นที่ป่าชายเลนในไทย

 



กราฟพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยปี พ.ศ. 2504-2552 (หน่วย : ตารางกิโลเมตร)


2504251825222529253225342539254325472552Year02004006008001,0001,2001,4001,6001,8002,0002,2002,4002,6002,8003,0003,2003,4003,600Area


ตารางอัตราลดลงเฉลี่ยรายปีของพื้นที่ป่าชายเลน ระหว่างปี 2504 - 2539(หน่วย:ไร่)


2504-25172518-25212522-25282529-25332534-25352536-2539Year05,00010,00015,00020,00025,00030,00035,00040,00045,00050,00055,00060,00065,00070,00075,00080,000Area

            จากกราฟด้านบนจะเห็นได้ว่า สถานการณ์ของทรัพยากรป่าชายเลนที่เหลืออยู่ในปัจจุบันลดลงไปมากกว่าครึ่งจากอดีต หากสถานการณ์การใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนยังเป็นไปในทิศทางที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็คาดได้ว่าพื้นที่ป่าชายเลนจะถูกแปรสภาพเพื่อกิจการอื่นอย่างต่อเนื่องต่อไป และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างต่อเนื่อง จึงอยากชวนให้ทุกคนมาช่วยกันฟื้นฟูป่าชายเล ซึ่งวิธีที่ไม่ยากจนเกินไปสำหรับพวกเราคือ การปลูกป่าชายเลน

 

 การปลูกป่าชายเลน

       การปลูกป่าชายเลนเป็นการช่วยฟื้นฟู ซึ่งมีโครการที่ตอบสนองในเรื่องนี้นั่นคือโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ โดย รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับภาคเอกชนจัดทำโครงการปลูกป่า ถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชปีที่ 50 นั้น กรมป่าไม้ในฐานะที่ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปลูกป่าได้รับมอบหมายให้จัดทำพื้นที่ เป้าหมายขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกป่า โดยในส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนนั้น อยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ จำนวน 12 จังหวัด


กราฟผลการปฏิบัติงานโครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงพระชนมายุ 72 พรรษา พ.ศ.2547-2551(หน่วย:ตารางกิโลเมตร)


25472548254925502551Year05101520253035404550556065707580859095Area

แล้วทำไมต้องปลูก ??? 

โกงกาง
  • เป็นแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบและสิ่งก่อสร้างในครัวเรือน  ไม้ป่าชายเลนที่นิยมนำมาเผาถ่านคือ ไม้โกงกาง เพราะติดไฟทนทาน ไม่มีควัน ไม่ปะทุแตกไฟ ได้ก้อนถ่านสวยงาม ขายได้ราคาดี นอกจากนี้ไม้ป่าชายเลนมีประโยชน์ใช้สอยและก่อสร้าง เช่น ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ ก่อสร้าง แพปลา ไม้หลายชนิดนำมาสกัดใช้ทำน้ำหมึก ทำสี ทำกาว ฟอกหนัง เป็นต้น 
ต้นจาก
  • เป็นแหล่งพืชผักและสมุนไพร  พืชในป่าชายเลนสามารถนำมาใช้เป็นผักพื้นบ้านได้หลายชนิด ต้นจากก็เป็นพืชป่าชายเลนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้ คือ ใบนำมาทำเป็นตับมุงหลังคา ใบอ่อนสามารถนำมามวนบุหรี่ได้ น้ำจากยอดอ่อนสามารถนำมาทำน้ำตาลจากมีรสชาติดี ผลใช้กินเป็นของหวาน พืชในป่าชายเลนหลายชนิดนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ เช่น เหงือกปลาหมอ มะนาวผี ใช้รักษาโรคผิวหนัง ผลของตะบูนขาวใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วงได้ รากตาตุ่มทะเลใช้แก้อักเสบ แก้ไข้ แก้คัน ได้
ปูแสมกินเศษใบไม้
  • เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ  เศษซากพืช ใบไม้และส่วนต่างๆ ของไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นลงมา จะถูกย่อยสลายทำให้เกิดสารอินทรีย์ที่ ละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน ซึ่งสาหร่ายและจุลินทรีย์ต่างๆ จะสามารถใช้เป็นอาหารได้ และ จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่อไป
ปูก้ามดาบ
  • เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ นานาชนิด  สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิดได้ใช้ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัย และอนุบาลตัวอ่อนในบางช่วงของวงจรชีวิตของมัน เช่น ปลากะพงขาว ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากระบอก ปลาเก๋า กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง ปูแสม ปูม้า และมีสัตว์น้ำบางชนิดอาจใช้เป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัย เช่นปูทะเล
  • ช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง โดยเฉพาะหญ้าทะเลและปะการัง  ป่าชายเลนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำทะเลชายฝั่งซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง
  • ช่วยป้องกันดินพังทลายชายฝั่งทะเล  รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วยบรรเทาความเร็วจากกระแสน้ำลง ทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดินงอกใหม่ เมื่อระยะเวลานานก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดชายเลน อันเหมาะสมแก่การเกิด ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่อไป
  • เป็นพื้นที่สำหรับดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆ  รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยดักกรองสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่างๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล โลหะหนักหลายชนิดเมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน นอกจากนั้นขยะและคราบน้ำมันต่างๆ ก็จะถูกดักกรองไว้ในป่าชายเลนเช่นกัน
  • ช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากภัยธรรมชาติ  ป่าชายเลนทำหน้าที่เหมือนปราการ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของคลื่นและลมให้ลดน้อยลง เมื่อเทียบกับบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลน
  • เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งศึกษาธรรมชาติ  ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์ ที่มีใบ ดอกและผลสวยงาม แปลกตา อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีทั้งสัตว์น้ำ และสัตว์บก โดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย ทำให้ป่าชายเลนเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญ
  • ช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ  ไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้อากาศสดชื่น


-------------------------------------------------------------------------------------- 

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Test D3.js #1

 ในที่นี้ จะยกตัวอย่างเป็น ตารางรายจ่าย ใน 1 สัปดาห์ โดยเริ่มจากวันอาทิตย์ ตามตารางในรูปที่ 1

รูปที่ 1 ตารางรายจ่ายใน 1 สัปดาห์

1. Pie Chart 

รูปที่ 1.1 แสดงข้อมูลในแบบ Pie Chart

   Code for Pie Chart



 

 

2. Donut Chart 

รูปที่ 2.1 แสดงข้อมูลในแบบ Donut Chart

     Code for Donut Chart 11





3. Column Chart 

รูปที่ 3.1 แสดงข้อมูลในแบบ Column Chart

     Code for Column Chart 



 

 

 

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Exercise 3 Try web-based tools and Find Chart Types/Structures

Exercise 3.1 Try web-based tools

      ใน Exercise 3.1 จะเป็นการทดลองใช้เครื่องมือเพิ่มเติมในการสร้าง Graph และ Chart โดยใช้
Hohli ซึ่งเป็น Online Charts Builder - http://charts.hohli.com

       สำหรับ Web-based tools ตัวนี้ เริ่มแรกเราสามารถเลือกสร้าง Chart Type ต่างๆได้ดังรูปที่ 3.1.1
      
รูปที่ 3.1.1 Chart Type ที่สามารถสร้างได้

            หลังจากเลือก Chart Type ได้เรียบร้อยแล้ว (ในที่นี้เลือก line chart) ก็จะมาถึงส่วนในการจัดการข้อมูลที่จะใช้ในการสร้าง Chart กัน สำหรับ Web-based tools ตัวนี้ ต้องเพิ่มลบข้อมูลเอง ไม่สามารถ Import ไฟล์ข้อมูลมาใช้ได้ ซึ่งตารางการจัดการข้อมูล(Line Chart) จะเป็นดังรูปที่ 3.1.2
 

รูปที่ 3.1.2 ตารางเพิ่มข้อมูล(line chart)


            หลังจากใส่ข้อมูลตามต้องการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ยังสามารถกำหนดขนาดของ Chart ได้ดังรูปที่ 3.1.3

รูปที่ 3.1.3 Chart Size
            เมื่อกำหนดทุกอย่างได้เรียบร้อยแล้ว ทางด้านขวามือ จะมื Chart Preview อยู่ดังรูปที่ 3.1.4 ซึ่งถ้าเลือก Edit ก็จะสามารถเปลี่ยน Chart Type ได้ แต่ถ้าได้ตามต้องการแล้วให้แลือก Generate



รูปที่ 3.1.4 Chart Preview
            จากนั้นก็จะปราก หน้าต่าง ดังรูปที่ 3.1.5 ซึ่งเป็นหน้า Output สุดท้าย ใน Web-based tools ตัวนี้ ไม่สามารถ Export ไฟล์ออกมาได้ เช่น รูปภาพ เป็นต้น แต่ Hohli สามารถนำลิงค์ URL ที่ Generate แล้วไปใช้ได้ และยังสามารถนำ Code ที่ Generate แล้ว ไปฝังยังเว็บได้อีกด้วย



รูปที่ 3.1.5 Final Chart






Exercise 3.2 Find Chart Types/Structures

        ในที่นี้ จะเป็นการหา Chart Type เพิ่มเติมที่นอกเหนือจาก Chart Type ที่ส่วนมากจะทราบกันอยู่แล้ว เช่น
            - Table
            - Bar chart
            - Histogram
            - Line chart
            - Scatter plot
            - Box plot
            - Radar/Spider chart
            - Map
            - Subway map
            - Timeline
            - Gantt chart
            - Tag/word cloud
            - Suggestion
            - Pie chart
      
        จาก Chart Type ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ในบทความนี้จะนำเสนอ Chart Type อื่นๆ เพิ่มเติมให้ได้รู้จักกัน

3.2.1 Waterfall Chart

รูปที่ 3.2.1 Waterfall Chart
                 เป็น Chart ที่ช่วยในการทำความเข้าใจผลสะสมของค่าบวกหรือลบปรากฏที่ถูกนำมาแนะนำเป็นแถบแนวตั้งตามลำดับ

 

3.2.2 Funnel Chart 

 
รูปที่ 3.2.2 Funnel Chart

              เป็น Chart ซึ่งจะแสดงข้อมูลในอัตราความคืบหน้าที่ลดลง ซึ่งขนาดของแต่ละส่วนจะถูกกำหนดโดยค่าของรายการที่สอดคล้องกัน

 

3.2.3 Range Bar Chart 

 
รูปที่ 3.2.3 Range Bar Chart

        

3.2.4 Range Column Chart 

รูปที่ 3.2.4 Range Column Chart

              เป็น Chart ซึ่งจะสามารถแสดงข้อมูลในส่วนของ value ว่าอยู่ในช่วง ค่าของ value เท่าไหร่ ถึง เท่าไหร่


3.2.5 Spline Chart 

รูปที่ 3.2.5 Spline Chart

              เป็น Chart ซึ่งจะแสดงข้อมูลคล้ายกับ Line Chart ต่างกันแค่เส้นที่ใช้เป็นเส้นโค้ง


3.2.6 Step Line Chart 

รูปที่ 3.2.6 Step line Chart

              เป็น Chart ซึ่งจะแสดงข้อมูลคล้ายกับ Line Chart แต่เส้นที่ใช้ในการ plot เป็นเส้นตรงในแนวแกน x แกน y มาสร้างเป็นกราฟ